วันอาทิตย์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

"ดอกซากศพ" ดอกไม้ที่ใหญ่และเหม็นที่สุดในโลก


      ต้นดอกไม้ไม่ได้มีกลิ่นหอมหวานเสมอไป อย่างน้อยก็ไม่ใช่ดอกบุกยักษ์ (Titan Arum) ซึ่งมีกลิ่นเหม็นเน่าอย่างรุนแรง กลิ่นของมันคล้ายกับปลาเน่าผสมซากศพ มันจึงได้รับชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "ดอกซากศพ"


     ต้นบุกยักษ์ เป็นพืชเขตร้อนในวงศ์ Araceae เป็นดอกไม้ที่ได้ชื่อว่า" เหม็น " ที่สุดในโลก และคงไม่มีใครอยากได้เป็นของขวัญอยู่แล้ว เพราะนอกจากมันจะเหม็นที่สุดในโลก มันยัง "ใหญ่ยักษ์ " ที่สุดในโลกอีกด้วย


     เวลาที่ดอกมันจะบาน จะมีขนาดได้ถึง 1.3 เมตร และมียอดที่แทงแหลมขึ้นไปสูงถึง 3 เมตร มองดูไม่คอ่ยน่าชมเท่าไหร่ เพราะมันดูคล้ายอวัยวะเพศชาย มันจึงมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus Titanum (แปลเป็นไทยได้ว่า "ลึงค์ยักษ์แปลงคือแปลงกายให้เหมือนลึงค์แต่ไม่ใช่ลึงค์ ")


     Titan Arum ดอกซากศพ หรือ ดอกบุกยักษ์ ดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เป็นพืชในเขตป่าร้อนชื้น ในพืชตระกูล "บัวผุด" (Rafflesia) เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ( Indonesia ) ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร จึงพืชสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด ขณะเดียวกัน กลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่ว กลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวาน และผสมเกสรให้มัน กล่าว กันว่ากลิ่นของดอก Titan Arum คล้ายกับเนื้อเน่าสำหรับคน แต่กลับเป็นกลิ่นหอมยั่วน้ำลายแมลงเต่าที่ชอบกินของเน่าและแมลงวันให้มาช่วย ผสมเกสร กลีบดอกสีแดงเข้มยังช่วยลวงตาให้สัตว์นึกว่าเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่น่าตอม ด้วย


     บุกย์ยักษ์มีอายุประมาณ 40 ปี หาดูยาก ออกดอกเพียงครั้งละดอก และตลอดทั้งชีวิตของมันจะออกดอกเพียง 3-4 ครั้งเท่านั้น ซึ่งดอกของมันจะบานอยู่เพียง 36 ชั่วโมง ก่อนที่จะหุบลง





วงจรชีวิต ดอกซากศพ ดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก



ดอกซากศพ ดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลก ในประเทศไทย
     ในเมืองไทย มีสวนนงนุชได้นำเข้ามาจากสวนพฤกษศาสตร์โบกอร์ (Bogor the botanic garden) ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อมาทดลองปลูกภายในสวนเมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2546 เจริญเติบโตขึ้นวันละ 10-15 เซ็นติเมตร และดอกเริ่มบานเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2546 ลักษณะ กลีบดอกด้านในเป็นสีแดงปนสีม่วง ดอกชนิดนี้บานแค่สองวัน ก่อนจะเหี่ยวเฉาไปตามธรรมชาติ วัดความสูงของดอกได้ 135 ซม. และดอกบานเต็มที่วัดเส้นรอบวงได้ 156 ซม. แต่หลังจากบุกยักษ์ออกดอกเป็นครั้งแรกแล้ว นักพฤกษศาสตร์ไม่อาจตอบได้ว่า อีกกี่ปีบุกยักษ์ต้นนั้นจึงจะออกดอกอีกครั้งหนึ่ง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น